ข้อมูล อบต.


 


ประวัติตำบลธงชัย

     ตำบลธงชัยเดิมเป็นที่สาธารณะมีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 20 หลังคาเรือน ในสมัย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4 ได้ทรงเสด็จประพาสเข้าวัง (พระนครคีรี)

อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และได้สร้างราชวังขึ้นบนเขาวัง  (พระนครคีรี)  ในเขตอำเภอเมือง

จังหวัดเพชรบุรี  ซึ่งปรากฏอยู่จนปัจจุบัน  ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  

รัชกาลที่  4  เสด็จมาประทับที่พระราชวังก็จะมีกองทหารออกมาตั้งเป็นกองระวังการโดยรวม

ทั้ง  4  ทิศ  ทางด้านทิศเหนือก็มาตั้งที่เขาหลวง  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่  4  เสด็จมาที่ถ้ำตำบลธงชัย  ทรงพระราชทานชื่อถ้ำตำบลธงชัยว่า  “เขาหลวง”

และชาวบ้านเห็นว่า การตั้งธงไชยเฉลิมพลเป็นสิริมงคลกับหมู่บ้านและมักจะตั้งทัพในพื้นที่

ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านธงชัย” จนปัจจุบัน  ต่อมาหมู่บ้านธงชัยตำบลธงชัย

ปรากฏหลักฐานจากประกาศจากกระทรวงมหาดไทย

     อีกนัยหนึ่งเป็นตำนานเล่าต่อกันมา  นางเลื่อน  เครือน้อย  คุณยายวัย  96  ปี  เล่าให้ฟังว่า

ตั้งแต่สมัยราชกาลที่  4  สงครามโลก   ครั้งที่ 1  พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาถอยลงมาเพชรบุรี

ก็มีการพนันกันว่าให้ไทยสร้างเจดีย์แข่งกับพม่าถ้าไทยชนะพม่าก็จะถอยทัพกลับไป

โดยฝ่ายไทยจะสร้างเจดีย์ที่วัดมหาธาตุในปัจจุบัน   พม่าสร้างเจดีย์แดงบนยอดเขาวังในปัจจุบัน

ไทยปราดเปรื่องและฉลาดมากกว่าสร้างเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ  แล้วใช้ผ้ายาวคลุมคน

ไทยที่อยู่ซีกเหนือคือ  เขาหลวง  เห็นเป็นสีขาวสูง  คิดว่าไทยชนะพม่าแน่นอน  ก็นำธงมาปักไว้

บนยอดเขาหลวงซึ่งทางเหนือ ชาวเหนือเรียกว่า  ตำบลธงชัย  จนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

2.1 วิสัยทัศน์

“ตำบลธงชัยน่าอยู่ คู่คุณธรรม นำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคง ดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานบริหารจัดการที่ดี สืบสานประเพณีวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวที่ดีงาม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

          ๑. จัดให้มีและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและแหล่งน้ำอย่างทั่วถึง เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

          ๒. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชนให้ครอบคลุมทุกด้าน

          ๓. ส่งเสริม สนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และป้องกันสาธารณภัย

          ๔. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการท่องเที่ยว

          ๕. ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

          ๖. พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรตามหลักธรรมาภิบาล    

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านธงชัย 201 383 399 782 คน
หมู่ที่ 2 บ้านดอนคาน 914 1,040 1,449 2,489 คน
หมู่ที่ 3 บ้านนาพระ 117 177 220 397 คน
หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งเฟื้อ 131 178 222 400 คน
หมู่ที่ 5 บ้านนาป่า 95 128 150 278 คน
หมู่ที่ 6 บ้านขลู่ใต้ 89 139 153 292 คน
หมู่ที่ 7 บ้านขลู่เหนือ 85 150 125 275 คน
หมู่ที่ 8 บ้านตีนบันได 532 690 865 1,555 คน
หมู่ที่ 9 บ้านโพธิ์งาม 1,112 1,210 1,592 2,802 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

     องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย  จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่องการจัดตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนพิเศษ 6 ง ลงวันที่ 3 มีนาคม 2538

สภาพทั่วไป

     องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองเพชรบุรี  ระยะทาง

ห่างจากอำเภอเมืองเพชรบุรี ประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

     ทิศเหนือ         ติดต่อตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศตะวันออก   ติดต่อตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศใต้             ติดต่อตำบลคลองกระแชง และตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี

                          จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศตะวันตก      ติดต่อตำบลเวียงคอย ตำบลวังตะโก ตำบลบางจาก

                          อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

เนื้อที่

     องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร

หรือประมาณ 11,254 ไร่

ภูมิประเทศ

     ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย   เป็นที่ราบลุ่ม   เป็นภูเขาบางส่วน

โดยเฉพาะในหมู่ที่  9  ลักษณะภูมิอากาศ  มีอากาศอบอุ่น  ไม่ร้อนจัด  และหนาวจัด

มีฝนตกตามฤดูกาล 

การเมืองการปกครอง

     องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย  จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่องการจัดตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนพิเศษ 6 ง ลงวันที่ 3 มีนาคม 2538

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

    อาชีพของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย แยกไว้ดังนี้

        ทำนา             35 %

        รับราชการ              25 %

        ค้าขาย           20 %

        รับจ้าง            12 %

        อื่นๆ                        8 %

    หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

        โรงแรม          3      แห่ง

        โรงสี              2      แห่ง

สภาพทางการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา

    1)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก       จำนวน  2  แห่ง  คือ

        - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลธงชัย

        - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอินทราราม

    2)  โรงเรียนประถมศึกษา       จำนวน  2  แห่ง  คือ

        - โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย

        - โรงเรียนวัดอินทราราม

    3)  โรงเรียนอาชีวศึกษา, โรงเรียนพานิชยการ       จำนวน  1  แห่ง  คือ

        - วิทยาลัยอาชีวศึกษาพาณิชยการเพชรบุรี

    4)  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน       จำนวน  1  แห่ง  คือ

        - ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี

    5)  วิทยาลัยพยาบาล       จำนวน  1  แห่ง  คือ

        - วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า  จังหวัดเพชรบุรี

    6)  สถานศึกษาของเอกชน       จำนวน  2  แห่ง  คือ

        -  โรงเรียนอนุบาลเทพศึกษา 

        -  โรงเรียนอนุบาลพร้อมวิทย์

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

    ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีบางส่วนในหมู่ที่ 3 ตำบลธงชัยที่นับถือศาสนาอิสลาม

    องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัย  ได้รับมอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ดีเด่นด้านการดำเนินงานวัฒนธรรม  ประจำปี 2555  จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  ซึ่งมีวัฒนธรรมที่

โดดเด่นคือประเพณีไทยทรงดำ (ปิดข่วง) ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีที่ หมู่ 4 บ้านทุ่งเฟื้อ ตำบลธงชัย  

    1)  วัด       จำนวน  4  แห่ง

        - วัดธงชัย                   หมู่  1

        - วัดอินทราราม  (วัดบ้านขลู่)        หมู่  7

        - วัดบุญทวี (วัดถ้ำแกลบ)             หมู่  8

        - วัดวิหารโบสถ์                         หมู่  8

    2)  สำนักสงฆ์       จำนวน  1  แห่ง

        - สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำเรืองฤทธิ์    หมู่  1

    3)  มัสยิด       จำนวน  1  แห่ง  (หมู่ 3)

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การคมนาคม

     องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยมีถนนในความรับผิดชอบ  60 สายทาง  ระยะทางทั้งสิ้น

ประมาณ 119.9 กิโลเมตร   ซึ่งได้มีการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม อย่างต่อเนื่อง 

รวมถึงระบบไฟฟ้า  และระบบประปาด้วย

การไฟฟ้า

     องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน  จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า  100% 

เป็นการใช้ไฟฟ้ากรณีพิเศษ  แต่การขยายไฟฟ้าปกติยังไม่ทั่วถึง

การสาธารณสุข

     1)  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จำนวน  1  แห่ง

     2)  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ  100

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     1)  สถานีตำรวจ                      จำนวน  -  แห่ง

     2)  สถานีดับเพลิง                    จำนวน  -  แห่ง

     3)  ป้อมตำรวจ                        จำนวน  1  แห่ง

        - ป้อมตำรวจเขาหลวง

แหล่งน้ำธรรมชาติ

     1)  คลองชลประทาน  จำนวน  3  สาย

     -  คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย (กม.27+966–กม.32+850)

        รวมความยาว 4.884  กม.

     -  คลองส่งน้ำ 1 ขวา – สายใหญ่ฝั่งซ้าย  (กม.18+818 – กม.26+460)

        รวมความยาว 7.642 กม.

     -  คลองส่งน้ำ 1 ขวา – 2 ซ้าย – สายใหญ่ฝั่งซ้าย (กม.2+000 – กม.4+700)

        รวมความยาว 2.700 กม.

     2)  คลองธรรมชาติสายย่อย  จำนวน 8 สาย

     -  คลองกำนันมะลิ       (หมู่  1)

     -  คลองเหมืองกลาง     (หมู่  1)

     -  คลองเหมืองกล้วย    (หมู่  2)

     -  คลองสนามพราหมณ์        (หมู่  3)

     -  คลองเลียบทางรถไฟ        (หมู่  5)

     -  คลองโพธิ์               (หมู่  6)

     -  คลองกุ่ม         (หมู่  7)

     -  คลองเลียบทางรถไฟ        (หมู่  8, 9)

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

     1)  ฝาย  จำนวน  1  แห่ง  (หมู่  4)

     2)  สระน้ำ  จำนวน  4  แห่ง  (หมู่ 3, 5, 7, 8)

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

     เขาหลวง  อยู่ห่างจากเขาวังประมาณ  3  กิโลเมตร  เป็นภูเขาขนาดเล็ก  มียอดสูงเพียง 

92 เมตร  ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำเขาหลวง  มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม  ภายในมีปล่องที่แสงอาทิตย์

สามารถส่องเข้ามาภายในถ้ำได้  ถ้ำเขาหลวงถือเป็นถ้ำใหญ่และสำคัญที่สุดในเมืองเพชร 

ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูป  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

โปรดให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

 

 

• หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

• การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

• ตรวจสอบภายใน

     • แผนการตรวจสอบภายใน

     • รายงานการตรวจสอบภายใน

     • งานควบคุมภายใน

     • การบริหารความเสี่ยง

• การปฏิบัติงาน

     • คู่มือการปฏิบัติงาน

     • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

     • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ

     • คู่มือการให้บริการ

     • มาตรฐานการให้บริการ

     • สถิติการให้บริการ

     • ผลสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ